วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551


本国
Nihon-koku / Nippon-koku
นิฮงโคะกุ / นิปปงโคะกุ
ญี่ปุ่น

ธงชาติ


การเมืองการปกครอง

ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่มีรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าของคณะรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้รับเลือกจากสมาชิกรัฐสภา นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับที่ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) หรือฉบับปัจจุบันได้มีการบัญญัติไว้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ มิใช่องค์ประมุขและไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศ
รัฐสภา (国会, คกไก) ประกอบด้วย 2 สภา คือ
สภาผู้แทนราษฎร (衆議院, ชูงิอิง) มีสมาชิก 480 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และ
วุฒิสภา (参議院, ซังงิอิง) มีสมาชิก 242 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยเลือกตั้งจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี
พรรคการเมืองได้แก่
พรรคเสรีประชาธิปไตย (自由民主党) เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
294 ที่นั่ง (สตรี 26 คน) ในวุฒิสภา 111 ที่นั่ง (สตรี 12 คน) หัวหน้าพรรคคือนายยาซุโอะ ฟุคุดะ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พรรคโคเมโตใหม่ (公明党) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 31 ที่นั่ง (สตรี 4 คน) ในวุฒิสภา
24 ที่นั่ง (สตรี 5 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอะกิฮิโระ โอตะ

พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan: DPJ : Minshuto) แกนนำฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 113 ที่นั่ง (สตรี 10 คน) ในวุฒิสภา 82 ที่นั่ง (สตรี 11 คน)
หัวหน้าพรรคคือนายอิจิโร โอะซะวะ

พรรคสังคมประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Social Democratic Party of Japan : SDP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่ง
ในสภาผู้แทนราษฎร 7 ที่นั่ง (สตรี 2 คน) ในวุฒิสภา 6 ที่นั่ง (สตรี 1 คน) หัวหน้าพรรคคือนางมิซุโฮะ ฟุคุชิมะ

พรรคคอมมิวนิสต์ (Japan Communist Party - JCP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 9 ที่นั่ง (สตรี 2 คน) ในวุฒิสภา 9 ที่นั่ง (สตรี 3 คน) หัวหน้าพรรคคือนายคะซุโอะ ชิอิ

การแบ่งเขตการปกครอง

ญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 จังหวัด(บริเวณเขตและจังหวัดต่างๆของญี่ปุ่น) และ 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อเลือกผู้ว่าราชการจังหวัด

ฮอกไกโด 1. ฮอกไกโด

โทโฮะกุ 2. อะโอะโมะริ3. อิวะเตะ4. มิยะงิ5. อะกิตะ6. ยะมะงะตะ

คันไซ 24. มิเอะ25. ชิงะ26. เกียวโตะ27. โอซะกะ28. เฮียวโงะ29. นะระ30. วะกะยะมะ

จูโงะกุ 31. โทตโตะริ32. ชิมะเนะ33. โอะกะยะมะ34. ฮิโระชิมะ35. ยะมะงุจิ

ชิโกะกุ 36. โทะกุชิมะ37. คะงะวะ38. เอะฮิเมะ39. โคจิ

คิวชู และ โอะกินะวะ 40. ฟุกุโอะกะ41. ซะงะ42. นะงะซะกิ43. คุมะโมะโตะ44. โออิตะ45. มิยะซะกิ46. คะโงะชิมะ47. โอะกินะวะ

หมายเหตุ
คำว่าจังหวัดในภาษาญี่ปุ่นมี 4 แบบ คือ
โทะ (都) ใช้เฉพาะโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวง
โด (道) เฉพาะฮอกไกโด
ฟุ (府) ใช้กับเกียวโตะและโอซะกะซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงในอดีต
เค็ง (県) ใช้กับจังหวัดอื่น ๆ
เมื่อพูดถึงจังหวัดรวม ๆ จะใช้ว่า โทะโดฟุเก็ง (都道府県)
ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ http://blogger.com
เขียนโดย นส.จันทนีย์ กิตติศักดิ์เสรี ID 5131601263 major : law








ไม่มีความคิดเห็น: