วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ริบบิ้นสีขาว





ริบบิ้นสีขาว สัญลักษณ์ของการรณรงค์ยุติความรุนแรง เรียกร้องให้รัฐบาลอย่ามองว่ากลุ่มผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายตรงข้าม แต่ให้มองว่าคนเหล่านั้น เป็นประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยและอย่าใช้วิธีการสลายการชุมนุม นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ควบคุมสถานการณ์ ไม่ควรมีการติดอาวุธ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรงและไม่ควรมีการใช้ถ้อยคำยั่วยุ เพื่อให้เกิดความรุนแรงตามมา รวมทั้งกลุ่มที่ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรว่า อย่าใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยการผูกริบบิ้นสีขาว ติดแถบผ้าขาว แขวนผ้าขาว หรือสิ่งใดที่เป็นสีขาว ติดที่ตัว ที่รถ หรือที่บ้าน เพราะสีขาวเป็นสีแห่งสันติภาพ ที่มีความเป็นกลาง และเข้าได้กับทุกสี และเป็นสีที่จะทำให้ทุกสีอ่อนความแข็งกร้าวลงด้วย

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

INTRODUCE






วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ทำอย่างไรจะมีความสุขกับข่าวการเมือง ?

ทํ า อ ย่ า ง ไ ร จ ะ มี ค ว า ม สุ ข
กั บ
ข่ า ว ก า ร เ มื อ ง ?





กลวิธีของนักการเมืองไม่ดี เป็นสิ่งน่าเรียนรู้ จะได้เท่าทันเค้า เราจะไม่ถูกหลอกง่ายๆ เมื่อเข้าใจจะร้องอ้อ (รู้ทันนะคิดอะไรอยู่)



นักการเมืองไม่ดีเป็นคนน่าสงสาร ควรเมตตา แต่ไม่ควรสนับสนุนให้เป็นผู้แทนหรือ ส.ส.


ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัวเรา อันนี้ใช้กับการเมืองก็ใช้ได้เหมือนกัน ดูการเมืองเป็นกระจกสะท้อนตัวเรา สะท้อนความโกรธโลภหลง

ความดีไม่ดี ส่วนใหญ่ที่เราคิดว่านักการเมืองไม่ดีเพราะภาพที่เราเห็นส่วนใหญ่ไม่ดี

ข่าวที่ถูกตีแผ่ เรื่องจริงก็มีข่าวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำลายนักการเมืองดีก็มี ต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความจริงกับความคิดเห็น


คิดว่าข่าวการเมืองเป็นงานศิลปะชิ้นหนึ่งเราเสพงานศิลปะเพื่อเข้าถึงจิตวิญญาณของผู้สร้างผลงาน เราดูข่าวการเมืองก็สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของนักข่าวได้เหมือนกัน
ว่าเขาต้องการถ่ายทอดอะไร นักข่าวคนนั้นรู้สึกอย่างไรเวลาเขียนข่าวคืออ่านข่าวแล้วอ่านใจคนเขียนด้วย

เนื้อข่าวบอกอะไร เขาทำอะไรกัน ? ทำอย่างไร ? เพื่ออะไร ? แล้วที่เค้าทำเช่นนั้นเค้าคิดอย่างไร ?ไม่เข้าใจไม่เป็นไร
แต่ถ้าเข้าใจ “อ้อ” คำนี้เป็น ปิติ อย่างหนึ่งเมื่อความเข้าใจเกิด

ข่าวดีบ้าง ร้ายบ้าง โลกเราก็เป็นเช่นนี้ ที่แก้ได้ก็แก้ไข แก้ไม่ได้ก็ทำใจยอมรับว่าแก้ไม่ได้
เราไม่ได้เป็นเทพเจ้าที่จะบันดาลทุกสิ่ง ทำเท่าที่มนุษย์ตัวเล็กๆคนหนึ่งทำได้

ทำความดีค่าเวลาก่อนตาย ทำอะไรไว้เป็นหลักฐานให้คนรุ่นหลังรู้ว่า

" เราเคยมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ "



สุดท้าย “ตถตา” เป็นเช่นนั้นเอง : ปล่อยวางได้ใจเป็นสุข



( แหล่งอ้างอิง :พระอาจารย์ สุวิริโย วัดท่าหิน จังหวัด ชุมพร )