วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

LHC ไขความลับจักรวาลหรือหายนะของมวลมนุษย์








Large Hadron Collider (LHC) เป็นเครื่องเร่งความเร็วอนุภาค ของศูนย์วิจัย CERN ในสวิตเซอร์แลนด์ มีลักษณะเป็นท่อใต้ดินวนเป็นวงกลมยาว 27 กิโลเมตร เป้าหมายของ LHC คือใช้ทดลองเร่งความเร็วอนุภาคแล้วเอามาวิ่งชนกัน เพื่อตรวจสอบทฤษฎีทางฟิสิกส์อนุภาคว่าเป็นไปได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะ ซึ่งถ้าสร้างขึ้นมาได้จริงตามทฤษฎี วงการฟิสิกส์จะก้าวหน้าขึ้นไปอีกมาก LHC ตอนนี้กำลังสร้างอยู่และมีกำหนดเปิดใช้งานเดือนพฤษภาคมนี้(2008) อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่คาใจเรื่องความปลอดภัยของ LHC ในหลายประเด็น เช่นว่า การใช้งาน LHC อาจก่อให้เกิดแบล็คโฮล (หลุมดำ)ขนาดเล็กขึ้นมาทำลายล้างโลก หรือเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กโลกให้เหลือข้างเดียวได้ ล่าสุดได้มีคนยื่นฟ้องต่อศาลสหรัฐ ให้กระทรวงพลังงานสหรัฐและห้องทดลอง Fermilab ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกของ LHC ชะลอการใช้งานไปอีก 4 เดือนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย ซึ่งทางฝ่ายสนับสนุน LHC เองก็ออกมาโต้แย้งว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าจะเกิดอันตรายขึ้นแต่อย่างใด ส่วนศาลจะรับฟ้องหรือไม่นั้นอยู่ระหว่างกระบวนการด้านเอกสาร " แม้นักฟิสิกส์ทั่วโลกจะใช้เวลาถึง 14 ปีและลงทุนไปกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC) ที่ใหญ่สุดในโลก ภายใต้ความร่วมมือขององค์การศึกษาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป "เซิร์น" (Cern) เพื่อเร่งให้อนุภาคโปรตอนชนกัน แล้วสร้างพลังงานและเงื่อนไขที่เหมือนกับเสี้ยววินาทีที่ 1 ในล้านล้านล้านหลังเกิดบิกแบง (Big Bang) โดยนักวิทยาศาสตร์จะวิเคราะห์เศษซากที่เกิดขึ้น เพื่อไขปริศนาธรรมชาติของมวลและแรงใหม่ๆ รวมถึงความสมมาตรของธรรมชาติด้วย


หากแต่วอลเตอร์ แอล.วากเนอร์ (Walter L.Wagner) ผู้อาศัยอยู่ในมลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา และศึกษาวิจัยฟิสิกส์และรังสีคอสมิกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ (University of California, Berkeley) ทั้งยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยนอร์เธิร์นแคลิฟอร์เนียในซาคราเมนโต (University of Northern California in Sacramento) และลูอิส ซานโช (Luis Sancho) ซึ่งระบุว่าทำวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีเวลาและอาศัยอยู่ในสเปน ได้ฟ้องต่อศาลฮาวายเพื่อเรียกร้องสิทธิให้ระงับการทดลองของเซิร์น เนื่องจากอาจทำให้เกิดหลุมดำขนาดเล็กที่อาจ "กินโลก" หรือทำให้เกิดอนุภาคแปลกๆ ที่เปลี่ยนโลกให้หดกลายเป็นก้อนที่มีความหนาแน่นสูง ทั้งนี้แม้จะฟังดูประหลาด แต่กรณีนี้ก็เป็นประเด็นเคร่งเครียดที่สร้างความวิตกให้กับนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ กล่าวคือพวกเขาจะประมาณความเสี่ยงจากการทดลองใต้ดินที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนนี้ได้อย่างไร และใครที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะหยุดหรือเดินหน้าการทดลอง สรุปคือเครื่องเร่งอนุภาค เพื่อจะทำให้ตัว LHC ทำความเร็วไปแตะระดับความเร็วแสง เพื่อทำให้เกิดปรากฎการใหม่ที่มนุษยชาติไม่เคยมีไครทำและทำได้ ถ้าทำได้สำเร็จจริงจะเป็นผลแห่งความรู้ใหม่อันมหาศาลทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์โลก เอาแบบง่ายๆ ถ้าทำสำเร็จจะเป็นพื้นฐานของการทำเครื่อง Time Machine แต่ถ้าสำเร็จจริงผลเสียที่ตามมา ที่มีกลุ่มคนต่อต้านกันอยู่คือ มันเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก การประเมินผลเสียที่เกิดขึ้นเป็นแค่การสมมุติฐานและคำนวนตามทฤษฎีเท่านั้น จึงเป็นไปได้ทั้งสองทางคือ อาจจะเป็นผลที่ดีมาก หรือผลเสียมากต่อมนุษยชาติก็ได้ ดีก็ดีไปแต่ข้อเสียก็คือ การทำให้อะไรสักอย่างบนโลกใบนี้เร็วในระดับไปแตะก้นความเร็วแสงได้จริงมันอาจทำให้เกิดหลุมดำขนาดหนึ่งขึ้นมาได้ และอาจจะดูดกลืนทุกสิ่งบนโลกใบนี้ให้หายไปเลยก็ได้ครับ ทั้งผลร้ายและผลดีนั้น คำนวนตามทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์ทั้งนั้นครับ ซึ่งไม่เคยมีใครมีประสบการณ์ในการทดลองจริงได้สำเร็จ

เพิ่มเติม......CERN ได้ประกาศเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาว่าจะเดินเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ ข่าวนี้มาพร้อมกับระยะทำเครื่องให้เย็นหลังจาก CERN ได้ประสบความสำเร็จในการข้อสรุปในการเดินเครื่องเร่งอนุภาคตัวใหม่ สถานีโทรทัศน์ได้ทำรายงานครอบคลุมตั้งแต่เการเริ่มเดินเครื่องผ่านทางสถานี Eurovision LHC เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีกำลังมากสุดในโลก สร้างลำแสงอิเล็กตรอนที่มีพลังงานมากกว่า 7 เท่าของเครื่องเก่า และมีความเข้มมากกว่า 30 เท่าเมื่อไปถึงประสิทธิภาพที่คาดหวังไว้ในปี 2010 อุโมงค์ขนาด 27 กิโลเมตรที่เป็นท่อลำแสง LHC อิงเทคโนโลยีที่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เครื่อง LHC ในปัจจุบันจึงเปรียบเสมือนเครื่องต้นแบบในตัวมันเอง สิ้นเดือนกรกฎาคม งานทั้งหมดใกล้จะเสร็จสมบรูณ์แล้ว กับเครื่องยิงอนุภาค 8 ส่วนที่มีอุณหภูมิในการทำงานอยู่ที่ 1.9 องศาเหนือจุดเยือกแข็งสมบูรณ์ (-271°C) ระยะต่อไปขอการทำงานคือการทำเชื่อมต่อ LHC กับเครื่องเร่ง Super Proton Synchrotron (SPS) ที่จะมารวมเป็นส่วนเชื่อมต่อสุดท้ายของห่วงโซ่การยิงของ LHC เวลาระหว่างเครื่องทั้ง 2 ต้องมีความแม่นยำในระดับส่วนเสี้ยวของนาโนวินาที การทดสอบการเชื่อมต่อจะเริ่มในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ และการยิงลำแสงอิเล็กตรอนที่สองแบบหมุนตามเข็มนาฬิกาจะเริ่มในสัปดาห์ถัดไป การทดสอบจะทำเรื่อยจนถึง 9 กันยายน เพื่อแน่ใจว่าเครื่องพร้อมที่จะเร่งและทำให้เกิดการชนของแสงอิเล็กตรอนที่ยิงไปที่มีระดับพลังงาน 5 TeV ต่อลำแสง ซึ่งเป็นพลังงานเป้าหมายในปี 2008 นี้ และลำแสงที่จะวิ่งวนภายใน LHc อย่างเป็นทางการนี้คือวันที่ 10 กันยายน 2008 ซึ่งจะใช้พลังงาน 450 GeV (0.45 TeV)เมื่อการโคจรของลำแสงอิเล็กตรอนสเถียรแล้ว นักวจัยก็จะนำเข้าสู่ระยะการชนและสุดท้ายก็จะเร่งระบบ LHC ให้เร่งพลังงานไปถึง 5 TeV เพราะฉะนั้นติดตามการทดลองที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 10 กันยายนนี้ให้ดี ว่าจะเป็นวันประวัติศาสตร์ของโลก หรือจุบจดของโลก ถ่ายทอดสดทั่วโลกทาง CNN ฯลฯ

ขอบคุณข้อมูลจาก FW และเว็บไซด์พันทิปดอทคอม

http://www.teenee.com/

พนิดา เอกทัตร์ 5131601410 section 2 สำนักวิชานิติศาตร์ สาขาวิชา นิติศาตร์






1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การที่ทำเครื่องLHCมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
แต่ความคิดของฉันคิดว่ามันเสี่ยงที่จะเกิดหลุดดำ
แล้วมันเป็นความเสี่ยงกับชีวิตของคนบนโลกทั้งหมด
ถ้าทำได้มันก็ดีไปแต่เกิอระเบิด หรือ รั่ว ก็เกิดสารผิด สารเคมีตามมา ทำให้บรรยากาศที่แย่อยู่แล้วยิ่งแย่ไปอีก มันเหมือนแลกความรู้ที่เสี่ยงที่สุด แลกกับชีวิตทุกชีวิต