ข้อเท็จจริงของการเกิด สตอร์ม เซิร์จ ในอ่าวไทยตอนบน

นักวิชาการเตือนชุมพร-ประจวบคีรีขันธ์ เสี่ยงพายุหมุน ตั้งแต่ อ.บางสะพาน ไปจนถึงเมืองสุราษฎร์ธานี ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม พร้อมกับรับประกันกรุงเทพมหานคร - เมืองปากน้ำ สมุทรปราการ มีโอกาสเกิดน้อยมาก ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาก็ออกประกาศฉบับพิเศษ เรื่อง ข้อเท็จจริงของการเกิดสตอร์ม เซิร์จ (Storm Surge) ในอ่าวไทยตอนบน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกระแสวิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดคลื่นพายุหมุน หรือ สตอร์ม เซิร์จ ( Storm Surge) ขึ้นฝั่งที่ จ.สมุทรปราการ จนอาจเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ว่า มีความเป็นไปได้น้อยมาก โดยการออกมาเตือนให้เฝ้าระวังปรากฏการณ์ เป็นการคาดการณ์ตามช่วงเวลาที่มักเกิดพายุ ประกอบกับเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงพัดผ่าน และมีฝนตกมากจึงทำให้มีการพูดถึงมากในสังคม

ทั้งนี้หากดูจากสถิติพายุหมุนที่ขึ้นฝั่งไทยและมาเลเซีย ของกรมอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่ ปี 2494 - 2550 พบว่าในรอบ 60 ปี มีพายุหมุนที่ขึ้นฝั่งรวม 69 ลูก แบ่งเป็นเกิดพายุที่มีความเร็วลมในระดับพายุโซนร้อน ระดับความเร็ว 60-120 กิโลเมตร/ชั่วโมง รวม 12 ครั้ง และเกิดขึ้นหลังช่วงกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป และส่วนใหญ่มาจากทางทะเลจีนใต้ จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดพายุพัดแล้วเลี้ยวเข้าทางจังหวัดริมฝั่งอ่าวไทย เช่น จ.สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ส่วนอีก 44 ลูก เป็นดีเปรสชั่นความเร็วลม 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง "ที่ผ่านมาการเกิดคลื่นพายุหมุนในประเทศไทย ทั้งพายุแฮร์เลียส ที่แหลมตะลุมพุก ปี 2505 พายุเกย์ปี 2536 และล่าสุด คือ พายุลินดา เมื่อปี 2540 มีจุดบ่งชี้ตรงกันว่าไม่ได้เกิดขึ้นโดยฉับพลันเหมือนกรณีสึนามิ แต่จะมีการสะสมระดับน้ำทะเลหนุนหลายวัน ซึ่งเชื่อว่าด้วยวิทยาการของกรมอุตุนิยมวิทยา และกรมอุทกศาสตร์เองก็สามารถคาดการณ์ว่า พายุจะพัดขึ้นฝั่งบริเวณใดได้อย่างแม่นยำล่วงหน้า 48 ชั่วโมง ดังนั้นประชาชนจึงไม่ควรตื่นตระหนกเกินเหตุ " ดร.อานนท์ กล่าว นอกจากนี้ ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงที่มีโอกาสเกิดคลื่นพายุหมุนได้ จากลักษณะกายภาพที่เป็นอ่าวปิดน้ำลึกเข้ามาในแผ่นดินระยะทางยาว โดยเฉพาะที่ อ. บางสะพาน และลักษณะที่ราบชายฝั่งที่แบนราบ ซึ่งเสี่ยงน้ำท่วม ประกอบกับน้ำจืดที่หนุนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ ที่ระดับน้ำจะขึ้นสูงสุดในรอบปีช่วงดือนธันวาคม ประมาณ 1 เมตร ซึ่งควรมีการเตรียมรับมือทั้งการอพยพซึ่งเป็นแผนระยะสั้น และการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบางด้านเศรษฐกิจ เพื่อรับมือในระยะยาว
ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยาก็ออกประกาศฉบับพิเศษ เรื่อง ข้อเท็จจริงของการเกิดสตอร์ม เซิร์จ (Storm Surge) ในอ่าวไทยตอนบน ตามที่ได้มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการเกิด "สตอร์ม เซิร์จ" (Storm Surge) โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทย โดยความรุนแรงเท่ากับพายุไซโคลนนาร์กีส ก่อให้เกิดความแตกตื่นของประชาชนโดยทั่วไปนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนี้
1. จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติในรอบ 57 ปี ที่ผ่านมา พบว่ามีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาในอ่าวไทยตอนบน ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน แต่ความแรงลมของพายุมักน้อยกว่า 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
2. การเคลื่อนตัวของพายุในอ่าวเบงกอล ที่เข้าประเทศพม่า เกิดจากลมที่มีความชื้นมาก ทําให้พายุมีกําลังแรงขึ้นก่อนขึ้นฝั่ง แต่พายุที่เคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทย เกิดจากลมที่มีความชื้นน้อย ซึ่งจะทําให้พายุอ่อนกําลังลง และมีแรงลมน้อยกว่า 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
3. สตอร์ม เซิร์จ ที่เป็นอันตราย ส่วนมากเกิดจากพายุที่มีแรงลมมากกว่า 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
4. ลักษณะภูมิประเทศของพม่าเป็นแบบเปิดรับลมแรงจากพายุพัดเข้าฝั่ง ส่วนอ่าวไทยตอนบนเป็นแบบแคบและปิด รวมทั้งลมแรงที่พัดเข้าหาพายุ เป็นลมที่พัดออกจากฝั่ง มิได้พัดเข้าบริเวณก้นอ่าวไทย
5. พื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยตอนบนเคยเกิด สตอร์ม เซิร์จ เมื่อครั้งพายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่ขึ้นฝั่งจังหวัดชุมพร ในปี 2532 และพายุไต้ฝุ่นลินดา ที่ขึ้นฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี 2540 แต่ไม่รุนแรง ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยายืนยันว่า ถ้าจะมีพายุเคลื่อนตัวเข้ามาอีก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรงมาก จะใกล้เคียงกับที่เคยเกิดจากอิทธิพลของพายุเกย์และพายุลินดา
6. จากการติดตามการก่อตัวของพายุ กรมอุตุนิยมวิทยา ยังไม่พบปัจจัยในการก่อตัวของพายุที่จะเคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยในระยะนี้ หากพบการก่อตัวของพายุและมีแนวโน้มว่าจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยา สามารถแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมป้องกันได้ไม่น้อยกว่า 5 วัน
กันชรีน เลิศกิตติสุข ID 5131601238 Sec 2 สำนักวิชา นิติศาสตร์
2 ความคิดเห็น:
น่ากลัวจัง
บ้านเราจะโดนมั้ยเนี่ย
เราละห่วง ป๋า กะม่า เราอะ
แสดงความคิดเห็น