วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

.....คำศัพท์ควรรู้เกี่ยวกับ " รัฐธรรมนูญ "....

Magna Carta (Great Charter)

ากบทเรียน วิชา การเมืองการปกครอง (1001132)

เรื่อง รัฐธรรมนูญ (Constitution)

หัวข้อ Gradual Evolution (บรรทัดที่ 5 )

คำว่า Magna Carta มาจากภาษาละติน แปลว่า "กฎบัตรใหญ่"หรือ"มหากฎบัตร"(Great Charter) หรือบางครั้งเรียกว่า "กฏบัตรใหญ่อิสระ" (Magna Carta Libertatum) เป็นกฏบัตรของอังกฤษที่ตราขึ้น ค.ศ. 1215โดยถือกันว่า มหากฏบัตร นี้คืออิทธิพล ที่ยิ่งใหญ่ที่มีต่อประวัติศาสตร์อันยาวนานของกระบวน การที่นำไปสู่กฏหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน

มหากฏบัตร เกิดขึ้นได้นั้นเนื่องจากพระเจ้าจอร์น หรือที่รู้จักในพระนาม " จอร์น แลคแลนด์ " (John หรือ John Lackland) พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ ครองราชระหว่าง พ.ศ.1743-1759 พระโอรสองค์ เล็กของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่ง อังกฤษนับเป็นกษัตริย์ ที่มีผู้นิยมชมชอบน้อยที่สุดใน ปรวัติศาสตร์ ของประเทศ อังกฤษ ทรงเคยพยายามที่จะยึดราชบัลลังก์ระหว่างที่พระเจ้าชาร์ดที่ 1 ถูกจองจำ อยู่ในประเทศเยอรมัน (พ.ศ.1736-1737)แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ และรับแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ สืบทอดราชบัลลังก์โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 1 เองเพื่อตัดสิทธิ์ เจ้าชายอาเธอร์พระ โอรสของพระเจ้า จอฟเฟรย์พระเชษฐาของพระเจ้าจอร์น การเรียก ร้องสิทธิ์ในการครองราชของ เจ้าชายอาเธอร์ได้รับ การสนับสนุนจากพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสและหลังจากเจ้าชายอาเธอร์ถูกปลงพระชนม์โดย คำสั่งของพระเจ้าจอร์นเมื่อ พ.ศ.1746 พระเจ้าฟิลิปส์ได้ยกทัพที่เหนือกว่าเข้ามาบุก ยึดอังกฤษระหว่าง พ.ศ.1747-1748 ได้เกือบหมด ยกเว้นบางส่วนของอควิเทน (Aquitaine) ในปี พ.ศ.1749 พระเจ้าจอร์น ไม่ทรงยอมรับ "สตีเฟน แลงตัน" เป็นพระราชาคณะแห่งแคนเตอร์เบอรี ดังนั้นในปี พ.ศ.1715 ราชอาณาจักรของพระองค์จึงถูกประกาศเป็นอาณาจักรต้องห้าม โดยพระสันตปาปาและถูกคว่ำ บาตร (พ.ศ.1752) ซึ่งในที่สุดพระองค์ ทรงยอมแพ้และปฏิบัติตามในปี พ.ศ.1756

รัฐบาลที่กดขี่ของพระเจ้าจอร์น
ประกอบกับความล้มเหลวในการยึดนอร์มังดี จึงกลับคืนมีผลให้ เกิดการ ถูกต่อต้านจากกลุ่มขุนนางซึ่งนำไปสู่การเรียกร้องการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ กลุ่มขุนนาง ได้เข้าเฝ้า พระ องค ์ที่รันนีมีด (Runnymede)และบังคับให้ทรงลง พระปรมาภิไธย ประทับ พระราชลัญจกร บนมหา- กฏบัตร (Magna Carta) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.1758 ซึ่งเป็น รากฐานแห่งรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษในเวลาต่อมา



เนื้อหาหลักในมหากฏบัตร กล่าวถึง สิทธิในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ของเสรีชน ไม่ว่า
บุคคลนั้นจะอยู่ในชนชั้นหรือวรรณะใดก็ตาม และพระเจ้าแผ่นดิน จะต้องมอบสิทธินี้ให้ กับขุนนาง หรือผู้ปกครองที่ดิน (Vassal) และขุนนางนั้นจะ ต้องมอบสิทธิให้กับพลเมืองหรือไพร่ ในสังกัด โดย พลเมืองทุกคนจะไม่ถูกกดขี่ พ่อค้าและชาวนาไม่จำเป็นต้องมอบ สินค้าบางส่วน หรือผลิตผลทาง การเกษตรให้กับขุนนางหรือเจ้าแผ่นดินเพื่อเป็นค่าคุ้มครองดังเนื้อความในส่วนหนึ่งของมหากฏบัตร ที่กล่าวว่า "จะไม่มีบุคคลที่ถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยว โดยปราศจาก อิสรภาพ หรือถูกยึด ขู่กรรโชก ทรัพย์สินโดยปราศจากคำตัดสินของศาล"นอกจากนี้ใน มหากฏบัตรยัง ได้กล่าวถึงการเรียกเก็บภาษี ของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน จะทรงเรียกเก็บภาษีตามพระราชหฤทัยโดยไม่ผ่านการเห็น ชอบจากสภาบริหารราช การแผ่นดิน (The Great Council Of The Nation) ก่อนไม่ได้


** เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าจอร์นทรงครองราชใน
เวลาก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย ประมาณ 50 ปี **

ไม่มีความคิดเห็น: