วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ความรู้เรื่องเขาพระวิหาร




บางคนเคยไปเขาพระวิหาร มีภาพเขาพระวิหารอยู่ในใจ ข้อมูลพื้นฐาน
รู้กันแต่เพียงว่า ตัวปราสาท ศาลโลกตัดสินให้เป็นของกัมพูชา
แต่หลายคนไม่รูว่าส่วนที่เป็นบันไดขึ้นตรงไหน… ส่วนประกอบที่จะเป็น
พระวิหาร ส่วนใด เป็นเขตของประเทศไทย เรื่องราวบางส่วน ในหนังสือ
เขาพระวิหาร ระเบิดเวลา จากยุคอาณานิคม อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนไว้ในบท ศรีษะเกษ เขมรป่าดง พอให้ความกระจ่างได้
ทั้งไทยทั้งกัมพูชาขณะนี้ มีปราสาทหินที่สำคัญ อยู่มากมายหลายแห่ง
อาจารย์ศรีศักร บอกว่า ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นศาสนสถานที่
สำคัญที่สุด ก่อนแพ้คดีข้อพิพาทกับกัมพูชา ปราสาทหลังนี้อยู่ในเขต
ประเทศไทย มีชื่อเรียกมาแต่ก่อนว่า ปราสาทพรหมวิหาร ตั้งอยู่บน
ยอดเขาที่สูงที่สุดลุกหนึ่งบนเทือกเขาพนมดงเร็ก




ภวาลัยแห่งพระศิวะ เป็นอาคารสำคัญของกลุ่มปราสาททั้งหมด
อยู่ในตำแหน่งที่มองลงไปสู่ เขมรต่ำ ของกัมพูชาได้อย่างชัดเจน
แต่กระนั้น ภวาลัยแห่งนี้ ก็หันลงสู่ที่ราบสูงโคราช ของประเทศไทย
ในลักษณะที่สอดคล้องกันกับทางขึ้น ที่มีโคปุระอยู่ทุกระดับความสูง
ตั้งแต่ตีนเขามายังยอดเขา ลักษณะแผนผังและสภาพแวดล้อมนี้ตีความ
เป็นอื่นไปไม่ได้ว่า ปราสาทแห่นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานสำคัญ
ของบ้านเมืองในภูมิภาคนี้ด้วย ไม่ใช่เพื่อกัมพูชาแต่เพียงอย่างเดียว
ผู้คนจากกัมพูชาในแดนเขมรต่ำ หากจะขึ้นมากราบไหว้ หรือประกอบ
พิธีกรรมทางศาสนา ถ้าหากไม่พากันเข้ามาในที่ราบสูงโคราชก่อน
ก็ต้องป่ายปีน เข้ามาในช่องทางท่สูงชันและลำบากที่เรียกว่า บันใดหัก




แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น… ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า ปราสาทเขาพระวิหาร ไม่มี
ความสัมพันธ์กับกษัตริย์ขอม เมืองพระนคร พิจราณาจากตำแหน่งที่ตั้ง
และสภาพแวดล้อมปราสาทเขาพระวิหารมีลักษณะ ที่คล้ายคลึง
กับปราสาทวัดภู ในเขตเมืองจัมปาสัก ในประเทศลาว ตั้งอยู่บนเขาสูง
มีลักษณะ โดดเด่นเป็นที่ประทับใจกว่าเขาธรรมดาอันกระตุ้นให้นึกคิด
ไปถึง การเป็นที่สถิตของเทพเจ้า ผู้ผรงอานุภาพ ทั้งปราสาท
เขาพระวิหาร และปราสาทวัดภูเป็นศาสนสถานที่ตั้งอยู่ในตำแหน่ง
ที่เป็นกลาง ทางการเมือง เป็นแหล่งจาริกแสวงบุญของผู้คนจาก
เมืองต่างๆ รัฐต่างๆที่นับถือ ศาสนาเดียวกัน



การที่มีการก่อสร้างให้เป็นปราสาทที่มีความซับซ้อนและวิจิตรงดงาม

โดยพระบัญชาของ กษัตริย์ขอมจากเมืองพระนครนั้น แสดงให้เห็น
ถึงความเลื่อมใสในทางพระศาสนาประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ก็เพื่อ
แสดงพระเกียรติยศและเดชานุภาพ ในการเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก
อาจารย์สรศักรบอกว่า หากจะดูความสวยงามและความใหญ่โตของ
ปราสาทเขาพระวิหาร ก็คงไม่สู้กระไร เทียบกับปราสาทหิน พิมาย
หรือพนมรุ้งไม่ได้ แต่ถ้าดูในเรื่องตำแหน่งที่ตั้ง และภูมิทัศน์ โดยรอบ
แล้ว นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เกือบไม่มีที่ใดในเขตประเทศไทย กัมพูชา
และลาวเทียบได้ แน่นอน…ปราสาทเขาพระวิหารเป็นศาสนสถานที่
ศักดิ์สิทธที่สำคัญ อาจมีชุมชนและอาศรมของพวกนักพรตดาบส
อยู่ในบริเวณนี้ หรือบริเวณ ใกล้เคียง

เมื่อไม่นานมานี้ มีการพบสิ่งใหม่ๆกันขึ้นที่บริเวณหน้าผาสูงชัน

ที่เรียกว่า มออีแดง อันเป็นแหล่งที่ตั้งหน่วยทหารพรานไทย
ได้มีผู้พบ ภาพสลักนูนต่ำรูปบุรุษ รูปสตรี ซึ่งน่าจะเป็นเทพเจ้า
สลักเรียงกัน 3 องค์ บางองค์ยังสลักไม่เสร็จ ใกล้กันมีภาพลายขูดขีด
เป็นแบบร่างรูปสุกร คงหมายถึง พระนารายณ์ปางวราหวตาร อีกภาพ
เป็นแบบร่างเทพเจ้า ประทับอยู่ใต้นาคปรกลักษณะคล้ายพระนารายณ์
มากกว่าเป็นพระพุทธรูป ปางนาคปรก ผู้บางท่านกำหนดให้มีอายุราว
พุทธศตวรรษที่ 16 ลงมา ใกล้ๆบริเวณมออีแดง มีรอยตัดหินจาก
บริเวณนี้ไปสร้างเขาพระวิหาร ถัดไปเปสถูปหินขนาดใหญ่ 2 องค์
ตั้งอยู่ติดกัน ไม่ทราบแน่ว่าสร้างขึ้น เพื่ออะไร แต่ก็เป็นสิ่งที่กล่าวได้ว่า
อยู่ในบริเวณตีนเขาพระวิหาร ที่อยู่ในเขตแดนไทย

ใกล้บริเวณสถูป เป็นลานหินทรายที่เกิดจากการสึกกร่อน มีร่องน้ำ

ที่ถูกกำหนดให้ เป็นเส้นปันเขตแดนไทยกับกัมพูชา ค่อนออกจาก
ตีนเขา ที่เริ่มบันไดนาค และถนน ที่จะขึ้นไปยังปราสาทเขาพระวิหาร
บริเวณ ลานหินนี้ มีธารน้ำที่นับน้ำจากตีนเขาพระวิหาร เรียกว่า
ห้วยตราว น้ำจากห้วยตราว ไหลผ่านซอกหินและโขดหิน มีเพิงถ้ำใต้
ธารน้ำแห่งหนึ่ง สวยงามมาก ลานกว้างพอที่คนหรือสัตว์เข้าไป
พักอาศัยได้ชั่งคราว ต่อจากใต้เพิงหิน ลำห้วยผ่านซอกหินและป่าลงสู่
ลุ่มกว้างขวาง มีต้นหญ้าขึ้นเขียวขจีคล้ายทุ่ง ตรงขอบทุ่ง มีแนว
แท่งหินซ้อนกันเป็นเขื่อน แท้จริง บริเวณนี้ คือแหล่งเก็ยน้ำแบบขอม
ที่เรียกว่า บาราย เส้นทางน้ำ จากบารายแห่งนี้ไหลไปสู่พื้นที่ราบ
ในเขตอำเภอมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด หน้า 5


ไม่มีความคิดเห็น: